สอนทำเว็บไซต์

สอนการทำเว็บไซต์ การทำเว็บไซต์สำเร็จง่ายๆ

วิธีทำเว็บไซต์

วิธีการทำเว็บไซต์ง่ายๆ

เทคนิคการทำเว็บไซต์

เทคนิคการทำเว็บไซต์ให้สวย

how to create website

website tutorial

html css

write html css

html5 css3

write html5 css3
  • 05:13:00
  • Unknown



1.Add ServerName localhost as the last line in /etc/apache2/apache2.conf file.

2.Create a file named /etc/apache2/conf-available/servername.conf and add the string ServerName localhost inside and save it. Create a soft link under /etc/apache2/conf-enabled as follows

ln -s /etc/apache2/conf-available/servername.conf .
# or
a2enconf servername

and restart the server.

~$ sudo service apache2 restart
  • 03:31:00
  • Unknown


Debian (Ubuntu) Package Management ( dpkg )

คำสั่งติดตั้ง ~$ sudo dpkg -i (ตามด้วยชื่อPackage).deb
ถอนการติดตั้ง ~$ sudo dpkg -r (ตามด้วยชื่อPackage)
ถอนการติดตั้งรวมคอนฟิก ~$ sudo dpkg -purge (ตามด้วยชื่อPackage)
แก้ไขไฟล์ ~$ sudo dpkg reconfigure (ตามด้วยชื่อPackage)
เราสามารถดู Manual ของ dpkg ได้ด้วยคำสั่งนี้ ~$ man dpkg
และออกจากคำสั่ง man โดยการกด :q
  • 06:05:00
  • Unknown





For Sublime-Text-2:
sudo add-apt-repository ppa:webupd8team/sublime-text-2
sudo apt-get update
sudo apt-get install sublime-text


For Sublime-Text-3:

sudo add-apt-repository ppa:webupd8team/sublime-text-3
sudo apt-get update
sudo apt-get install sublime-text-installer
  • 06:03:00
  • Unknown



For 64-bit systems user can use this code:
sudo apt-get install libxss1 libappindicator1 libindicator7
wget https://dl.google.com/linux/direct/google-chrome-stable_current_amd64.deb
sudo dpkg -i google-chrome*.deb

For 32-bit systems user can use this code:
sudo apt-get install libxss1 libappindicator1 libindicator7
wget https://dl.google.com/linux/direct/google-chrome-stable_current_i386.deb
sudo dpkg -i google-chrome*.deb

If error messages pop up after running the command sudo dpkg -i google-chrome*.deb then run the command

sudo apt-get install -f
  • 08:58:00
  • Unknown

 

 

แสดงข้อมูลของระบบและ Kernel

uname -i
ใช้สำหรับแสดงรายละเอียดทั้งหมดของระบบ

df
ใช้สำหรับแสดงจำนวนพื้นที่ฮาดดิสท์


df -h
ใช้สำหรับแสดงจำนวนพื้นที่ฮาดดิสท์ โดยใช้หน่วย megabytes และ gigabytes

free
แสดงข้อมูล จำนวน memory ที่ใช้

top
โชว์รายละเอียดทั้งหมด โปรเซสที่กำลังทำงาน cpu ram อื่นๆ (กด q เพื่อออก)

lsb_release -a
แสดงรายละเอียด linux ที่ใช้ เวอร์ชั่น และ โค๊ดเนม

การจัดการ Process

ps aux
แสดง process ที่กำลังทำงานอยู่

ps aux | grep firefox
แสดงรายละเอียดโปรเซสของ firefox grep คือ regular expression โดยค้นหาโปรเซสชื่อ firefox

kill -9 pid
ปิดโปรเซส ตามไอดีที่ระบุ (ไอดีดูได้จาก ps aux)

killall name
ปิดโปรเซสของโปรแกรม name

การจัดการโฟลเดอร์

cd
คำสั่งเปลี่ยน directory

cd /
<เปลี่ยน directory ไปที่ root

pwd
ใช้สำหรับแสดง directory ปัจจุบัน

cp
ใช้สำหรับก็อปปี้ ไฟล์/โฟลเดอร์

mkdir
ใช้สำหรับสร้างโฟลเดอร์

rmdir folder1
ลบโฟลเดอร์ folder1 (เฉพาะfolder ที่ไม่มีไฟล์ข้างใน)

rm -R folder1
ลบโฟลเดอร์ folder1 และไฟล์ข้างในทั้งหมด

การจัดการไฟล์

touch file1.txt
สร้างไฟล์ file1.txt

file file1
แสดงนามสกุลของ file1

cat file1.txt
แสดงรายละเอียดข้างใน file1.txt

less file1.txt
เหมือนคำสั่ง cat แต่ต่างกันที่ สามารถเลื่อน scroll bar ได้

cp file1 file2
ก็อปปี้ file1 และสร้าง file2

rm file1
ลบ file1

ใช้สำหรับ แสดงรายชื่อไฟล์และโฟลเดอร์

ls
โชว์ไฟล์และโฟลเดอร์

ls -a
โชว์ไฟล์และโฟลเดอร์รวม hidden files ด้วย

ls -l
โชว์ลิสท์แบบยาว มีรายละเอียด permission รวมอยู่ด้วย

ls -s
โชว์ลิสท์โดยเรียง จากขนาดของไฟล์และโฟลเดอร์

ls -t

ls -1
โชว์ลิสท์รายชื่อ โดยเรียงบรรทัดละ 1 ชื่อ

ls --color
แสดงรายชื่อ แบบมีไฮไลท์สี

การจัดการ Package

sudo apt-get update
ทำการ update รายชื่อpackage ใน lists (เหมือนกับการ check update)

sudo apt-get upgrade
ทำการ upgrade โปรแกรม ที่มีเวอร์ชั่นใหม่ ให้อัพเดท

sudo apt-get install packagename
ติดตั้งโปรแกรม

sudo apt-get -f install
สำหรับแก้ไข package ที่มีปัญหา กรณีเกิด “unmet dependences”

sudo apt-get remove name
ลบ package ชื่อname

sudo apt-get purge name
เหมือนกับ remove แต่จะลบ ไฟล์คอนฟิคด้วย

sudo add-apt-repository ppa:name
เพิ่ม repository (ต้องลง python-software-properties ก่อน)

การจัดการ File Permission

chmod 775 file1
เปลี่ยนโหมดไฟล์เป็น 775

chmod 777 folder1
เปลี่ยน folder1 เป็น 777

chown user:group file1
เปลี่ยนสิทธิ์การเข้าถึงของ file1

อื่นๆ

ifconfig
แสดงรายละเอียด network

nautilus
sudo nautilus

ใช้สำหรับเปิด file manager (sudo เพื่อเปิดในฐานะ root)

wget url_file
ดาวน์โหลดไฟล์ ตามที่ระบุใน url_file

curl url_file
ดาวน์โหลดไฟล์ ตามที่ระบุใน url_file (แตกต่างจาก wget เล็กน้อย)
  • 09:57:00
  • Unknown




ความจำเป็นในการใช้ (Dos) ยังคงมีอยู่ แม้ว่าในปัจจุบันบทบาทของมันจะเริ่มลดลงไปมากหลังจาก Windows เริ่มมีความสมบูรณ์และมีสิ่งอำนวยความสะดวกมาให้ชนิด ที่ไม่ต้องพึ่งดอสเลย แต่ถ้าเมื่อไรเครื่องของคุณยังไม่มี Windows หรือเข้าไปใช้งาน Windows ไม่ได้ คำสั่งดอสก็มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการใช้คำสั่งดอสจะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้เช่นการ การซ่อมแซมไฟล์ที่เสีย ก๊อปปี้ไฟล์ข้อมูล แก้ปัญหา Bad Sector ฯลฯ ดังนี้เราควรทราบคำสั่งบางคำสั่งที่จำเป็นไว้บ้างเพื ่อนำไปใช้งานในยามฉุกเฉิน
Dos ย่อมาจาก Disk Operating System เป็นระบบปฎิบัติการรุ่นแรก ๆ ซึ่งการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการทำงานบนระบ บปฎิบัติการดอสเป็นหลัก โดยการทำงานส่วนใหญ่จะเป็นการทำงานโดยการใช้คำสั่งผ่ านบรรทัดคำสั่ง (Command Line) ที่นิยมใช้กันคือ MS-Dos ซึ่งต่อมาระบบปฎิบัติการดอสจะถูกซ่อนอยู่ใน Windows ลองมาดูกันว่าคำสั่งไหนบ้างที่เราควรรู้จักวิธีใช้งา น

CD คำสั่งเข้า-ออก ในไดเร็คทอรี่
CD (Change Directory) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนไดเร็คทอรี่ในโหมดดอส เช่น ถ้าต้องการรัน คำสั่งเกมส์ที่เล่นในโหมดดอส ซึ่งอยู่ในไดเร็คทอรี MBK ก็ต้องเข้าไปในไดเร็คทอรีดังกล่าวเสี่ยก่อนจึงจะรันค ำสั่งเปิดโปรแกรมเกมส์ได้
รูปแบบคำสั่ง
CD [drive :] [path]
CD[..]
เมื่อเข้าไปในไดเร็คทอรีใดก็ตาม แล้วต้องการออกจากไดเร็คทอรีนั้น ก็เพียงใช้คำสั่ง CD\ เท่านั้นแต่ถ้าเข้าไปในไดเร็คทอรีย่อยหลาย ๆ ไดเร็คทอรี ถ้าต้องการออกมาที่ไดรว์ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ให้ใช้คำสั่ง CD\ เพราะคำสั่ง CD.. จะเป็นการออกจากไดเร็คทอรีได้เพียงลำดับเดียวเท่านั้ น
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง



CD\
กลับไปที่ Root ระดับสูงสุด เช่น ถ้าเดิมอยู่ที่ C:\>docs\data> หลังจากใช้คำสั่งนี้ก็จะย้อนกลับไปที่ C:\ >

CD..
กลับไปหนึ่งไดเร็คทอรี เช่น ถ้าเดิมอยู่ที่ C:\windows\command> หลังจากนั้น ใช้คำสั่งนี้ก็จะก็จะย้อนกลับไปที่ C:\windows>

CHKDSK (CHECK DISK) คำสั่งตรวจเช็คพื้นที่ดิสก์
CHKDSK เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลของหน่วยความจำ และการใช้งานดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ การรายงานผลของคำสั่งนี้จะเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ไดเร็ คทอรี และ FAT ของดิสก์ หรือไฟล์ เพื่อหาข้อมผิดพลาดของการเก็บบันทึก ถ้า CHKDSK พบว่ามี Lost Cluster จะยังไม่แก้ไขใด ๆ นอกจากจะใช้สวิตซ์ /f กำหนดให้ทำการเปลี่ยน Lost Cluster ให้เป็นไฟล์ที่มีชื่อไฟล์เป็น FILE0000.CHK ถ้าพบมากว่า 1 ไฟล์ อันต่อไปจะเป็น FILE0002.CHK ไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังสามารถรายงานปัญหาที่ตรวจพบได้อีก อย่างเช่น จำนวน Bad Sector , Cross-ling Cluster (หมายถึง Cluster ที่มีไฟล์มากกว่าหนึ่งไฟล์แสดงความเป็นเจ้าของ แต่ข้อมูลใน Cluster จะเป็นของไฟล์ได้เพียงไฟล์เดียวเท่านั้น)
รูปแบบคำสั่ง
CHKDSK [drive:][[path]filename] [/F] [/V]
[drive:][path] กำหนดไดรว์ และไดเร็ทอรีที่ต้องการตรวบสอบ
filename ชื่อไฟล์ที่ต้องการให้ตรวจสอบ
/F สั่งให้ Fixes Errors ทันทีที่ตรวจพบ
/V ขณะที่กำลังตรวจสอบ ให้แสดงชื่อไฟล์และตำแหน่งของดิสก์บนหน้าจอด้วย
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง


C:\WINDOWS>CHKDSK D: ตรวจสอบข้อมูลการใช้งานดิสก์ในไดรว์ D
C:\>CHKDSK C: /F ตรวจสอบ ไดรว์ C พร้อมกับซ่อมแซมถ้าตรวจเจอปัญหา

COPY คำสั่งคัดลอกไฟล์
Copy เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ จากไดเร็คทอรีหนึ่งไปยังไดเร็คทอรีที่ต้องการ คำสั่งนี้มีประโยชน์มากควรหัดใช้ให้เป็น เพราะสามารถคัดลอกไฟล์ได้ยามที่ Windows มีปัญหา
รูปแบบคำสั่ง
COPY [Source] [Destination]
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง


C:\COPY A:README.TXT คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT จากไดรว์ A ไปยังไดรว์ C
C:\COPY README.TXT A: คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT จากไดรว์ C ไปยังไดรว์ A
C:\INFO\COPY A:*.* คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยังไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C
A:\COPY *.* C:INFO คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยังไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C

DIR คำสั่งแสดงไฟล์และไดเร็คทอรีย่อย
เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงรายชื่อไฟล์และไดเร็คทอรี คำสั่งนี้ถือเป็นคำสั่งพื้นฐานที่ต้องใช้อยู่เป็นประ จำ เพื่อจะได้รู้ว่าในไดรว์หรือไดเร็คทอรีนั้น ๆ มีไฟล์หรือไดเร็คทอรีอะไรอยู่บ้าง
รูปแบบคำสั่ง
DIR /P /W
/P แสดงผลทีละหน้า
/W แสดงในแนวนอนของจอภาพ
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง


C:\>DIR ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีทั้งหมดในไดรว์ C
C:\>DIR /W ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีทั้งหมดในไดรว์ C ในแนวนอน
C:\>INFO\DIR /P ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีย่อยในไดเร็คทอรี INFO โดยแสดงทีละหน้า
C:\>INFO\DIR *.TEX ให้แสดงรายชื่อไฟล์ทั้งหมดในไดเร็คทอรี INFO เฉพาะที่มีนามสกุล TXT เท่านั้น
C:\> DIR BO?.DOC ให้แสดงรายชื่อไฟล์ในไดรว์ C ที่ขึ้นต้นด้วย BO และมีนามสกุล DOC ในตำแหน่ง ? จะเป็นอะไรก็ได้

DEL (DELETE) คำสั่งลบไฟล์
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการลบไฟล์ ซึ่งต้องระมัดระวังในการใช้คำสั่งนี้ให้มาก
รูปแบบคำสั่ง
DEL [ชื่อไฟล์ที่ต้องการลบ]
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง


C:\>DEL BOS.VSD ลบไฟล์ในไดรว์ C ที่ชื่อ BOS.VSD
C:\>PROJECT\DEL JOB.XLS ลบไฟล์ชื่อ JOB.XLS ที่อยู่ในไดเร็คทอรี PROJEC ของไดรว์ C
D:\>DEL *.TXT ลบทุกไฟล์ที่มีนามสกุล TXT ในไดรว์ D

FDISK ( Fixed Disk)
เป็นไฟล์โปรแกรมที่ใช้ในการจัดการกับพาร์ติชั่นของฮา ร์ดิสก์ ใช้ในการสร้าง ลบ กำหนดไดรว์ ที่ทำหน้าที่บูตเครื่อง แสดงรายละเอียดของพาร์ติชันบนฮาร์ดิสก์ จะเห็นว่าเป็นโปรแกรมอีกตัวหนึ่งที่ต้องทำความรู้จัก และศึกษาวิธีใช้งาน เพราะสามารถใช้ประโยชน์ในการสร้าง ฮาร์ดดิสก์ให้มีหลาย ๆ ไดรว์ก็ได้
รูปแบบคำสั่ง
FDISK /STATUS
ตัวอย่างการใช้งานโปรแกรม


A:>\FDISK เริ่มใช้งานโปรแกรม
A:\>FDISK /STATUS แสดงข้อมุลเกี่ยวกับพาร์ติชันบนฮาร์ดดิสก์

FORMAT คำสั่งฟอร์แมตเครื่อง
เป็นคำสั่งใช้จัดรูปแบบของดิสก์ใหม่ คำสั่งนี้ปกติจะใช้หลังการแบ่งพาร์ชันด้วยคำสั่ง FDISK เพื่อให้สามารถใช้งานฮาร์ดดดดิสก์ได้ หรือฝช้ล้างข้อมูลกรณีต้องการเคลียร์ข้อมูลทั้งหมดใน ฮาร์ดิสก์
รูปแบบคำสั่ง
FORMAT drive: [/switches]
/Q ให้ฟอร์แมตแบบเร็ว ซึ่งจะใช้เวลาน้อยลง (Quick Format)
/S หลังฟอร์แมตแล้วให้คัดลอกไฟล์ระบบลงไปในไดรว์นั้นด้ว ย เพื่อให้ไดรว์ที่ทำการฟอร์แมตสามารถบูตได้
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง


A:\>FORMAT C: /S ฟอร์แมตไดรว์ C แล้วให้คัดลอกไฟล์ระบบลงไปในไดรว์ด้วย
C:\>FORMAT A: /Q ฟอร์แมตไดรว์ A แบบ Quick Format

MD คำสั่งสร้างไดเร็คทอรี
MD (Make Directory) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างไดเร็คทอรี คำสั่งนี้จะช่วยให้สามารถสร้างไดเร็คทอรีชื่ออะไรก็ไ ด้ที่เราต้องการ แต่ต้องมีการตั้งชื่อที่อยู่ในกฎเกณฑ์ของ Dos
รูปแบบคำสั่ง
MD [drive:] path
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง


D:\> MD TEST สร้างไดเร็คทอรี TEST ขึ้นมาในไดรว์ D
D:\>DOC\MD TEST สร้างไดเร็คทอรีที่ชื่อ TEST ขึ้นมาภายในไดเร็คทอรี DOC

REN (RENAME) คำสั่งเปลี่ยนชื่อไฟล์
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนชื่อไฟล์ และส่วนขยาย โดยคำสั่ง REN นี้ไม่สามารถใช้เปลี่ยนชื่อไดเร็คทอรีได้
รูปแบบคำสั่ง
REN [ชื่อไฟล์เดิมล [ชื่อไฟล์ใหม่]
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง


C:\REN BOS.DOC ANN.DOC เปลี่ยนชื่อไฟล์ BOS.DOC ในไดรว์ C เป็น ANN.DOC
C:\REN C:\MAYA\BOS.DOC PEE.DOC เปลี่ยนชื่อไฟล์ BOS.DOC ในไดเร็คทอรี MAYA ให้เป็น PEE.DOC
C:\REN A:*.*TEX *.OLD เปลี่ยนส่วนขยายของไฟล์ชนิด TXT ทุกไฟล์ในไดรว์ A ให้เป็น OLD

SCANDISK
คำสั่ง SCANDISK เป็นคำสั่งตรวจสอบพื่นที่ฮาร์ดดิสก์ สามารถใช้ในการตรวบสอบปัญหาต่าง ๆ ได้ และเมื่อ SCANDISK ตรวจพบปํญหา จะมีทางเลือกให้ 3 ทางคือ FIX IT , Don't Fix IT และ More Info ถ้าไม่เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นให้เลือก More Info เพื่อขอข้อมูลเพิ่มก่อนตัดสินใจต่อไป
ถ้าเลือก FIX IT จะเป็นการสั่งให้ Scandisk ทำการแก้ไขปัญหาที่พบ ถ้าการซ่อมแซมสำเร็จโปรแกรมจะมีรายงานที่จอภาพให้ทรา บ ส่วน Don't Fix IT คือให้ข้ามปัญหาที่พบไปโดยไม่ต้องทำการแก้ไข
รูปแบบคำสั่ง
SCANDISK [Drive:]/AUTOFIX
/AUTOFIX ให้แก้ไขปัญหาโดยอัตโนมัติ
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง


A:\>SCANDISK C: ทำการตรวจสอบปัญหาในไดรว์ C
A:\>SCANDISK D:/AUTOFIX ทำการตรวจสอบปัญหาในไดรว์ D และแก้ไขอัตโนมัติ

Type คำสั่งดูข้อมูลในไฟล์
Type เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงเนื้อหาภายในไฟล์บนจอภาพ คำสั่งนี้จะใช้ได้กับไฟล์แบบ Text ส่วนไฟล์โปรแกรมต่าง ๆ จะไม่สามารถอ่านได้
รูปแบบคำสั่ง
TYPE [ชื่อไฟล์ที่ต้องการอ่าน]
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง


C:\>Type AUTOEXEC.BAT แสดงเนื้อหาภายในไฟล์ AUTOEXEC.BAT
C:\>NORTON\TYPE README.TXT แสดงเนื้อหาภายในไฟล์ README.TXT ในไดเร็คทอรี NORTON

XCOPY คำสั่งคัดลอกทั้งไดเร็คทอรีและทั้งหมดในไดเร็คทอรี
XCOPY เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ได้เหมือนคำสั่ง COPY แต่ทำงานได้เร็วกว่า และสามารถคัดลอก ได้ทั้งไดเร็คทอรีและไดเร็คทอรีย่อย
รูปแบบคำสั่ง
XCOPY [ต้นทาง] [ปลายทาง] /S /E
/E ให้คัดลอกไดเร็คทอรีย่อยทั้งหมดรวมถึงไดเร็คทอรีย่อย ที่ว่างเปล่าด้วย
/S ให้คัดลอกไดเร็คทอรีย่อยที่ไม่ว่างเปล่าทั้งหมด
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง


C:\>XCOPY BACKUP F: /S /E คัดลอกทุกไฟล์และทุกไดเร็คทอรีย่อย BACKUP ไปไว้ในไดรว์ F
C:\>PRINCE>XCOPY *.VSD A: คัดลอกทุกไฟล์ที่มีนามสกุล VSD ในไดเร็คทอรี PRINCE ไปที่ไดรว์ A

ข้อความแจ้งปัญหาในดอส

ในการทำงานบนดอสบางครั้งก็เกิดปัญหาได้บ่อย ๆ เหมือนกัน ซึ่งการเกิดปัญหาแต่ละครั้งก็จะมีข้อความแจ้งให้ทราบ ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น มีสาเหตุจากอะไร ต่อไปนี้เป็นข้อความแจ้งปัญหาที่มักพบได้บ่อย ๆ มีดังนี้
Abort, Retry, Fail ?
จะพบได้ในการณีที่ไดรว์ไม่มีแผ่นดิสก์อยุ่แล้วเรียกใ ช้ข้อมูลจากไดรว์นั้น การแก้ไขก็นำแผ่นดิสก์ที่ต้องการใช้มาใส่เข้าไป

กดปุ่ม < R > (Retry) : การทำงานจะทำต่อจากงานที่ค้างอยู่ก่อนเกิดความผิดพลา ด
กดปุ่ม < A > (Abort) : รอรับคำสั่งจะไปอยู่ในไดรว์ที่สั่งงานล่าสุด
กดปุ่ม < F > (Fail) : เมื่อต้องการยกเลิกการทำงาน และเปลี่ยนไดรว์ใหม่

Bad Command or file name : ใช้คำสั่งผิดหรือไฟล์ที่เรียกใช้งานนั้นไม่สามารถเรี ยกใช้ได้ การแก้ไข ตรวจสอบบรรทัดคำสั่งว่าถูกต้องหรือไม่ เช่น พิมพ์คำสั่งหรือชื่อไฟล์ถูกต้องหรือไม่ แล้วลองรันคำสั่งดูใหม่อีกครั้ง อาจเกี่ยวข้องกับเวอร์ชันของดอสไม่มีคำสั่งนั้นก็ได้

File not found : ไม่สามารถหาไฟล์นั้นพบ อาจไม่มีไฟล์นั้น หรืออาจพิมพ์ชื่อไฟล์นั้นนผิดจากที่ต้องการ นอกจากนี้อาจเกิดจากพาธ (Path) ที่สั่งงานไม่มีไฟล์นั้น

Insufficient memory หรือ Out of memory Insufficient memory : หน่วยความจำไม่พอต่อความต้องการของโปรแกรม

Out of memory : โปรแกรมเริ่มทำงานไปแล้วบางส่วนแล้วหน่วยความจำไม่พอ ระบบจึงต้องแจ้งให้ผู้ใช้ทราบ

Directory already exits : เกิดขึ้นเมื่อสร้างไดเร็คทอรีแล้วไปซ้ำกับซื่อที่มีอ ยู่แล้วในพาธเดียวกัน

Duplicate file ot file not found : ถ้าเปลี่ยนชื่อไฟล์ไปซ้ำกับชื่อที่มีอยู่จะทำไม่ได้แ ละจะแจ้งเตือนดังข้อความดังกล่าว

InSufficient Disk space : ข้อความนี้จะเกิดขึ้นเมื่อดิสก์ไม่เพียงพอต่อการเก็บ ข้อมูล วิธีแก้ ลองใช้ดิสก์อื่นหรือลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ออก



IPCONFIG

เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบค่า IP address ของเครื่อง รวมถึงค่า subnet mask,DNS Server ที่ใช้งาน Default Gateway ด้วย

PING

เป็นคำสั่งที่ใช้ตรวจสอบการเชื่อมต่อและความคับคั่งข องเครือข่าย โดยคำสั่งจะส่งข้อมูลเล็กๆไปยังปลายทางที่ระบุ ถ้าตัวเลขมากแสดงว่าเครื่อข่ายมีความคับคั่งสูง(ข้อม ูลเดินทางได้ช้า)

TRACERT

ย่อมาจากคำว่า traceroute ซึ่งเป็นคำสั่งบน UNIX โดยไมโครซอฟนำมาเปลี่ยนชื่อเพื่อไม่ให้ยาวเกิน 8 ตัวอักษร(เป็นข้อจำกัดของDos) คำสั่งนี้จะใช้ในการตรวจสอบว่าข้อมูลที่ส่งจากต้นทาง ไปยังปลายทางนั้นผ่านเราเตอร์(R
outer)ตัวใดบ้าง

การใช้งานเช่น
- tracert citecclub.org
- tracert 61.19.248.246

TELNET

เป็นคำสั่งที่ใช้ในการรีโมตไปยังเครื่องเซิฟเวอร์และ ได้ Shell Command เพื่อใช้ในการเข้าถึงตามสิทธิ์ที่ผู้ดูแลระบบได้กำหน ดไว้ จะต้องใส่ Username และ Password ให้ถูกต้อง นอกจากนั้น telnet ยังเป็นคำสั่งที่ใช้ในการเชื่อมต่อ TCP/IP กับ Port หมายเลขที่ระบุได้ เช่น telnet citecclub.org 80 เพื่อตรวจสอบเวอชั่นของ Web Server

FTP

เป็นคำสั่งที่ใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ระหว่างเครื่องลูกข ่ายและเครื่องแม่ข่าย(Server)โด
ยส่วมมากจะเรียกใช้คำสั่ง ftp บนเครื่องลูกข่ายแล้วทำการคอนเน็กไปยังเครื่องserver ที่เปิดบริการ ftp server จากนั้นก็ทำการส่งถ่ายข้อมูลต่างๆเช่น เพื่อทำการคัดลอกไฟล์ข้อมูลที่อยู่บนเครื่องserver มาเก็บไว้บนเครื่องลูก (เรียกว่าftp download) หรือการใช้คำสั่ง put เพื่อคัดลอกไฟล์ที่อยู่บนเครื่องลูกไปไว้บนเครื่องse rver(เรียกว่า ftp upload)

TFTP

เป็นกระบวนการรับส่งไฟล์ที่เรียบง่ายกว่า FTP ทั่วไป โดยใช้กลไกการสื่อสารแบบ UDP ( User Datagram Protocal ) ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ทำงานแบบ Connectionless ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใส่รหัสหรือ Password แต่จะทำได้เพียงโอนข้อมูลที่จัดเตรียมไว้แล้วเท่านั้ น แต่จะไม่มีฟังก์ชันอื่น ๆ เช่น การแสดงรายชื่อไฟล์ การเปลี่ยนไดเร็คทอรี

SUBST

ใช้เพื่อการทำ Map Drive ใช้คำสั่ง subst แล้วตามด้วยชื่อ Directory ที่ต้องการแมป แล้วตมด้วยอักษรเพื่อระบุ Drive ปละเครื่องหมายโคลอน (smile.gif
เช่น
- subst H: C:\Game\CnC-ZH
หรือว่าจะเข้าไปในdirectoryก่อน
เช่น
- c:\Game>subst H: CnC-ZH
การยกเลิก
subst ตามด้วยแมปไดร์แล้วใส่พารามิเตอร์ /D
เช่น
- subst H: /D

NSLOOKUP

ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับ DNS เช่น ตรวจสอบการแปลงจาก Domain Name ไปเป็น IP address เป็นต้น การใช้งานคือการพิมพ์คำว่า nslookup แล้วกด Enter Unhidden
พารามิเตอร์ที่ใช้บ่อยได้แก่
SET TYPE=MX เพื่อใช้ในการตรวจหาชื่อโดเมนของเครื่องที่ทำหน้าที่ เป็นmail server สำหรับโดเมนนั้น
การใช้งานพิมพ์คำว่า
set type=MX กด Enter แล้วตามด้วยโดเมนเนม
เช่น
- C:\>nslookup ------->Enter
Default server: XXXXXXXXXX
Address: xxx.xxx.xxx.xxx
>set type=mx ------------->Enter
> ชื่อโดเมน
-------------------------------------------------
SET TYPE=A ใช้เพื่อตรวจหาค่าIP Address สำหรับชื่อโดเมนเนมที่เราระบุการใช้งาน เช่น พิมพ์ว่า set type=a กด Enter แล้วพิมพ์ชื่อโดเมนเนมที่ต้องการตรวจสอบ แล้วกดEnter โปรแกรมก็จะรายงานผลออกมา ถ้าพิมพ์IP Address ลงไป โปรแกรมจะทำการแปลง IP เป็นโดเมนแทน
Exit ใช้ในการออกโปรแกรม

ROUTE

ใช้เพื่อตรวจสอบและคอนฟิกค่าในตารางเราเตอร์ (Router Table)Unhidden
พารามิเตอร์ที่มักจะใช้บ่อยๆคือ
ROUTE PRINT เพื่อแสดงค่าในตารางเราต์
ROUTE ADD เพื่อเพิ่มค่าเข้าไปในตารางเราต์ เช่น route add 200.100.23.0
mask 255.255.255.0 200.100.22.254 เพื่อเป็นการบอกว่า ถ้าได้รับ Packet ที่ต้องการไปยังเน็ตเวิก 200.100.23.0/24 ให้วิ่งผ่านไปยังเส้นทาง 100.22.22.254
ROUTE DELETE เพื่อลบค่าในตารางเราต์ เช่น route delete 200.100.23.0 mask 255.255.255.0 เป็นต้น
ROUTE -P ADD เพื่อเพิ่มค่าเข้าไปในตารางเราต์อย่างถาวร คือเมื่อทำการรีสตาร์ทใหม่ค่าตารางเราต์ที่เพิ่มด้วย พารามิเตอร์- pจะไม่หายไป(ตารางเราต์ที่เพิ่มเข้าไปใหม่ด้วยวิธีปก ติจะหายไปถ้าทำการรีสตาร์ทเครื่
องใหม่) วิธีใช้งาน อย่างเช่น route -ย ฟกก 200.100.23.0 mask 255.255.255.0 200.100.20.1

NETSTAT

เป็นคำสั่งที่ใว้ตรวจสอบว่ากำลังเชื่อมต่อTCP,UTPอยู ่กับใครกับเครื่องใดบ้างและเครื
่องใดกำลัง listen อยู่ พารามิเตอร์ที่ใช้บ่อยได้แก่
NETSTAT -A แสดงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น TCP,UTP สถานะ listen สถานะ Establish และอื่นๆ
NETSTST -N แสดงเป็นตัวเลข โดยไม่ต้องทำการค้นหาชื่อโดเมนของ IP และชื่อประจำหมายเลขของเซอร์วิส
NETSTAT -parameter | STRFIND string เพื่อใช้ค้นหาคำที่อยู่ในตารางผลลัพธ์ เช่น netstat -na | findstr 80 เพื่อใชในการตรวจสอบเกี่ยวกับเซอร์วิสของ Web Server
  • 09:35:00
  • Unknown




คนที่ได้เคยลองทำเว็บในเครื่องตัวเองมานาน จะพบความลำบาก หรือความขัดใจเรื่องนึงนั่นก็คือเรื่องของ url ที่ใช้ในเครื่องกับเวลาที่เอาขึ้นไปรันจริงบนเว็บนั้นจะแตกต่างกันเสมอ และมักจะส่งผลให้การทำงานผิดพลาดได้ เช่นตอนทดสอบในเครื่องเว็บชื่อ http://localhost/a แต่เว็บจริงเป็น http://www.abc.com ดังนั้นในหลายครั้ง เราลืมแก้ไฟล์ก่อน Upload เราก็เลย upload เว็บที่มี url เป็น http://localhost/a ขึ้นไปเฉยเลย หรือบางคนก็แก้ไขด้วยการ ตั้งเป็นตัวแปรใส่ไว้ในไฟล์สักไฟล์นึงแล้วแก้ไขไฟล์นี้แค่ไฟล์เดียวพอ แต่บางครั้งก็ลืมอยู่ดี หรือว่าก็ต้องคอยแก้ไขกลับไปกลับมาตอน upload

บท ความนี้จึงจะเสนอวิธีการตั้งค่าเว็บให้การทดสอบเว็บในเครื่อง เหมือนเป็นชื่อเว็บที่ใช้บน host จริงๆเลย เวลาทดสอบจะได้ไม่ต้องคอยแก้ไขไฟล์ไปมา เป็นเรื่องที่น่าจุกจิกกวนใจ (แต่อาศัยแก้ไขไฟล์ host จุดเดียวเท่านั้นทุกค่าพร้อมใช้ไม่ต้องยุ่งกับโค้ดใดๆ)
เพื่อให้เป็นการเข้าใจตรงกันผมจะกำหนดค่าต่างๆดังนี้ครับ
1.ผมต้องการทำเว็บบนโดเมนจริงที่ชื่อว่า www.beelocal.com สมมุติว่าจะจดโดเมนทำเว็บในชื่อนี้เลย
2.เว็บ ที่เก็บในเครื่องตัวเองตอนนี้เก็บไฟล์เอาไว้ที่ C:/wamp/www/bee จริงๆมันจะอยู่ที่ไหน แฟ้มเป็นชื่ออะไรก็ได้ครับ เพราะเดี๋ยวการตั้งค่าเราจะกำหนดลงไปได้

เริ่มต้นจากท่านต้องเตรียมดังต่อไปนี้ครับ
1.มีเว็บอยู่ในเครื่อง
2.ติดตั้ง wamp แล้วเรียบร้อยใช้งานได้ เพราะว่าการตั้งค่าจุดนี้ จะเป็นการตั้งค่าสำหรับผู้ที่ใช้ wamp ครับ
3.ใช้ windows โดยต้องมีสิทธ์การแก้ไขไฟล์ใน C:/windows ด้วยนะครับ

ขั้นตอนทั้งหมดไม่ยากเลยมีดังนี้
1.เปิดให้มองเห็น hidden file ในเครื่อง
2.ตั้งค่าชื่อโดเมนในไฟล์ hosts
3.ตั้งค่า virtual host ของ wamp
4.restart apache

แค่ 4 ขั้นเท่านี้ เราก็จะสามารถใช้งานเว็บในเครื่องเราเองได้เหมือนการทำบน server จริงได้แล้วครับ
โดยถ้าอธิบายโดยละเอียด ก็จะมีดังนี้ครับ
1.เปิด ให้มองเห็น hidden file ในเครื่อง อ่านวิธีทำให้มองเห็น hidden file ในเครื่อง เนื่องจากไฟล์ hosts มันเป็น Hidden file ครับในบางเครื่อง เราเลยต้องเปิดให้มองเห็นเพื่อที่จะได้แก้ไขได้ตรงกัน
-- วิธีทำก็คือ เปิด my computer หรือว่า หน้าต่างไหนก็ได้ครับ my document ก็ได้ แล้วด้านบน กดที่ Tools>Folder options >> (tab) view >> ติ้ก host hidden files and folders และเอาติ้กหน้า Hide protected operating system files ออก แล้ว OK

2. ตั้งค่าชื่อโดเมนในไฟล์ hosts ให้ชี้โดเมน beelocal.com ทำได้ดังนี้
--เปิดไฟล์ hosts ซึ่งเป็บอยู่ที่ C:\\WINDOWS\\system32\\drivers\\etc ถ้าใครมองไม่เห็นไฟล์ hosts ในแฟ้มนี้ให้ทำข้อ 1 ก่อนครับ
คลิกขวาเปิดด้วย notepad ก็ได้
แล้วที่บรรทัดล่างสุดขึ้นบรรทัดใหม่ เติมไปว่า
127.0.0.1 beelocal.com
127.0.0.1 www.beelocal.com

อย่า ลืมนะครับ beelocal.com คือโดเมนที่ผมต้องการ และเราจะใส่ทั้งแบบมี www และไม่มี www ครับ ให้ชี้กลับเข้ามาที่เครื่องตัวเองคือ 127.0.0.1

3.ตั้งค่า virtual host wamp เพื่อให้รับโดเมนที่ชี้เข้ามา
-- ก่อนอื่นเปิดใช้ vhost ก่อน โดยให้เปิดไฟล์ httpd.conf ซึ่งเก็บใน C:\\wamp\\bin\\apache\\Apache2.2.11\\conf (ถ้าท่านใช้ wamp เวอร์ชั่นไม่ตรงกับผม ค่าตรง Apache2.2.11 อาจจะเปลี่ยนได้นะครับ ก็ให้เปิดตามที่ท่านมีอยู่)
แล้วค้น
# Virtual hosts
#Include conf/extra/httpd-vhosts.conf
ให้แก้ไขเป็น
# Virtual hosts
Include conf/extra/httpd-vhosts.conf

จาก นั้น เปิดไฟล์ httpd-vhosts.conf ซึ่งอยู่ใน C:\\wamp\\bin\\apache\\Apache2.2.11\\conf\\extra (ถ้าท่านใช้ wamp เวอร์ชั่นไม่ตรงกับผม ค่าตรง Apache2.2.11 อาจจะเปลี่ยนได้นะครับ ก็ให้เปิดตามที่ท่านมีอยู่)

ให้เติม
<VirtualHost *:80>
ServerAdmin admin@beelocal.com
DocumentRoot "C:/wamp/www/bee"
ServerName beelocal.com
ServerAlias www.beelocal.com
</VirtualHost>

เอาไว้ที่ด้านล่างสุดของไฟล์ และอย่าลืมนะครับว่าเครื่องผมเก็บเว็บเอาไว้ที่นี่เลยต้งมาชี้ที่นี่ครับ

จากนั้น restart wamp 1 ที (จริงๆรีแค่ apache ก็พอแล้ว)

เมื่อ เราทำเสร็จก็จะได้โดเมนในเครื่องตัวเองทันที ทดสอบด้วยการเปิดเว็บ www.beelocal.com นั่นล่ะครับ ถ้าเจอหน้าเว็บที่มีอยู่ถึงจะถูก ถ้าเจอหน้า local ให้ตรวจสอบตั้งแต่ข้อ 3 ครับ

และก็มีคำถามมาว่า เมื่อเราต้องการจะเปิดเว็บจริงๆ เราจะทำอย่างไร เพราะว่าตอนนี้มันชี้เข้าเครื่องเราเอง ก็ทำง่ายๆด้วยการลบบรรทัดที่เราตั้งค่าออกจาก hosts (ที่เราทำข้อที่ 2 ) และ save รอประมาณ 5 นาทีเปิดเว็บอีกครั้งมันก็เป็นเว็บที่อยู่บน server จริงๆแล้วครับ ง่ายๆเท่านี้เอง


http://meewebfree.com/site/start-website-builder/163-create-url-like-online-in-localhost